Quantcast
Channel: Network Management System » maintenance
Viewing all articles
Browse latest Browse all 3

การเช็คสถานะอุปกรณ์ในห้อง Data Centre เบื้องต้น

$
0
0

DHCP, DNS (Ubutu base)

การเช็คสถานะ DHCP และ DNS นั้น สามารถทำได้ 2 วิธี คือ

  1. การใช้ Command ผ่าน SSH โดยใช้โปรแกรม Putty, Secure CRT หรือ KVM Overnetwork
  2. การใช้ Webmin ผ่าน Web Browser

Terminal Command Promp

  1. Login เข้า Server DHCP, DNS โดยใช้ ID Password ของแต่ละเครื่อง
  2. ใส่ Command ดังนี้

$service isc-dhcp-server status  //คำสั่งนี้เป็นคำสั่งเช็ค DHCP Status

$service bind9 status  //คำสั่งนี้เป็นคำสั่งเช็ค DNS Status

หากสถานะของ DHCP, DNS เป็นปกติ จะขึ้นข้อความดังภาพตัวอย่าง (หมายเหตุ DHCP, DNS ของแต่ละที่อาจจะอยู่บน Server คนละเครื่อง โปรดสอบถาม Admin ก่อนทีจะตรวจสอบ)

DDstatus01

Webmin

เปิด Web Browser พิมพ์ IP Address ของ Server DHCP, DNS

ตัวอย่าง https://172.24.252.10:10000 //IP Address สามารถดูได้ในใบตรวจเช็คอุปกรณ์ (ห้ามลืม https และ :10000 หากลืมจะเข้า Webmin ไม่ได้)

ใช้ ID Password เหมือนกับการเข้าแบบ Terminal ในการ Login

DDWebmin01

เมื่อ Login แล้วจะขึ้นหน้าตาดังภาพตัวอย่าง
จากนั้นให้กดที่ System จากนั้นจะมีเมนูขึ้นมา ให้เลือกที่ Running Processes

DDWebmin02

จากนั้นให้สังเกต Process ที่ Column Owner ให้สังเกตชื่อ bind (DNS Process) และ dhcpd (DHCP Process) หากไม่มี Process ดังกล่าว แสดงว่า Service ของ Server นั้นๆ ไม่ทำงาน

DDWebmin03

ESXi

ในอีกกรณี จะมี Server ที่รันอยู่บน ESXi การที่จะเข้าไปดู Service บน Server ได้นั้น จะต้องมีโปรแกรมเสริมเพื่อที่เข้าไปดูใน ESXi คือ VMware vSphere Client

วิธีการ Download VMware vSphere Client

ใช้ Web Browser เข้าไปที่ IP Address ของ ESXi เครื่องนั้น แล้วกด Download vSphere Client

(หมายเหตุ ถ้าหากผู้ดูแลระบบใช้ ESXi ver. ที่ต่ำกว่า 5 VMware vSphere Client จะมีปัญหากับระบบปฏิบัติการ Windows 8 และ 8.1 ถ้าหากผู้ดูแลระบบใช้ระบบปฏิบัตการดังกล่าว จะต้องโหลดไฟล์ที่ชื่อ VMware-viclient-all-5.0.0-913577.exe)

esxi01

เมื่อ Install เสร็จเรียบร้อยแล้ว จะขึ้นหน้าตาดังภาพตัวอย่าง โดยช่อง IP Address ให้ใส่ IP ของ ESXi  และ Username Password ที่กำหนดไว้

esxi02

เมื่อเข้าได้แล้วจะแสดงหน้าจอดังภาพตัวอย่าง ภายในกรอบสีเขียวนั้น คือ รายชื่อ Virtual Machine ที่เป็น Server ที่ควรสำรวจ โดยภายใน VM นั้น อาจจะเป็นระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน

esxi03

หากต้องการที่จะเข้าตัว Server นั้น มีวิธีการเข้าดังนี้

  1. คลิกที่ชื่อ Server ที่ต้องการจะเข้า
  2. เมื่อชื่อ Server ถูก Highlight แล้ว ให้คลิกที่ปุ่ม Lunch Virtual Machine Console หรือตำแหน่งที่ 2 ดังภาพ

esxi04

เมื่อคลิกแล้ว จะขึ้นหน้าจอ Server ที่ทำงานอยู่แล้ว จากนั้นให้ Login ตาม User Password ของแต่ละเครื่องที่กำหนดไว้

esxi05

โดยการเช็ค Service ของแต่ละเครื่องจะมีดังต่อไปนี้

หาก DHCP และ DNS  Run อยู่บน VM ให้เช็คดังวิธีที่ได้กล่าวไว้ด้านบน
Cacti เช็คโดยการ เปิดหน้าเว็บของ Cacti หากใช้งานได้ปกติ ก็ถือว่าระบบปกติ หรือ เปิด cmd.exe ขึ้นมา แล้วใช้คำสั่ง ping xxx.xxx.xxx.xxx (Cacti’s IP Address)

Allot Netexplorer ทดสอบโดยการเปิดโปรแกรม Netexploror หากเปิดได้ Login เข้าดูโปรแกรมได้ ถือว่าระบบปกติ

การเช็ค CPU RAM ของเครื่อง Server

Ubuntu Base (Linux)

การเช็ค CPU RAM บน Server Ubuntu นั้น ทำได้ 2 วิธีคือ Terminal และ Webmin ซึ่งทั้งสองวิธีจะใช้วิธีคล้ายๆ กันคือ การ Login เข้า Server เมื่อเข้าได้สำเร็จ หน้าแรกของ Terminal และ Webmin จะแสดงรายละเอียดของทรัพยากรที่ใช้บน Server เครื่องนั้น รวมถึง CPU RAM ด้วย

DDstatus02 DDWebmin00

ESXi

การเช็ค CPU RAM บน ESXi นั้น สามารถแสดง CPU RAM บนเครื่อง ESXi และ VM ของเครื่องทั้งหมดที่อยู่บน ESXi โดย Login เข้า vSphere ตามปกติ เมื่อขึ้นมาแล้วให้ไปกดที่ Tab Summary ดังภาพตัวอย่าง จะเป็นการแสดงทรัพยากรทั้งหมดของ ESXi

esxi06

หากต้องการเช็คทรัพยากรเป็นราย VM (Server ที่อยู่บน ESXi) ก็ให้กดตามขั้นตอนตามภาพตัวอย่าง

คลิกที่ Server ที่ต้องการ >>> ไปที่ Tab Resource Allocation

esxi07


Viewing all articles
Browse latest Browse all 3

Trending Articles